image
แก๊สออกซิเจนอุตสาหกรรม (Industrial Oxygen - O2) คือแก๊สอีกประเภทที่ช่วยให้ติดไฟแต่ไม่ติดไฟ ช่วยให้แก๊สอื่นที่ใช้ควบคู่ติดไฟง่ายขึ้น เช่น แก๊สอะเซทิลีน แก๊สหุงต้ม(LPG) และไฮโดรเจน ที่ใช้ในการเชื่อมและตัดโลหะ เพราะเมื่อมีส่วนผสมที่สมบูรณ์แล้วจะทำให้เกิดความร้อนสูงสุดและทำให้โลหะหลอมละลายได้ นอกจากนี้เปลวไฟของแก๊สออกซิเจนยังสามารถช่วยเร่งปฏิกิริยาในการบำบัดน้ำเสียได้อีกด้วย

การดูแลและข้อควรระวัง
• ไม่ควรมีน้ำมันหล่อลื่น จารบี หรือสารติดไฟใดๆอยู่ใกล้ท่อออกซิเจน
• ไม่ควรเก็บหรือบรรจุออกซิเจนใกล้แหล่งที่อาจมีประกายไฟหรือที่ๆมีการเผาไหม้
• ไม่ควรเก็บท่อใกล้กับวงจรไฟฟ้า
• ในพื้นที่บริเวณที่ใช้อุปกรณ์เชื่อมหรือตัดโลหะ ควรเป็นที่โล่งหรือที่ๆอากาศถ่ายเทได้สะดวก
• แก๊สออกซิเจนเหลวจะมีอุณหภูมิต่ำมาก จึงไม่ควรให้สัมผัสกับเสื้อผ้าหรือบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดการเผาไหม้เนื่องจากจับความเย็นได้ดี
• ใช้หัววาล์วมาตรฐาน CGA 540 (สำหรับลมเท่านั้น)
• ท่อสีดำ


image
แก๊สออกซิเจนการแพทย์ (Medical Oxygen - O2) อยู่ในสภาวะแก๊สหรือของเหลวโดยมีสูตรทางเคมีอยู่ที่ 0 หรือความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 99.0  โดยในรูปแบบของแก๊ส จะไม่มีกลิ่น ไม่มีสี และในภาวะของเหลวจะมีสีฟ้าอ่อน

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับออกซิเจนรักษาที่บ้าน สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้งานคือ
• แก๊สจะไม่ติดไฟเอง แต่จะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการลุกไหม้ที่รวดเร็วและรุนแรงขึ้น
• แก๊สออกซิเจนการแพทย์ต้องบรรจุไว้ในถังสีเขียวเท่านั้น และมีสัญลักษณ์ มอก.540-2555
• ห้ามใช้ท่อที่เป็นสนิม ท่อต้องสะอาด ห้ามผ่านการบรรจุแก๊สอื่นมาก่อน
• ควรมีถังดับเพลิงติดตั้งไว้บริเวณใกล้เคียง
• ใช้หัววาล์วมาตรฐาน CGA 540 (สำหรับแก๊สออกซิเจนการแพทย์เท่านั้น)

การดูแลและข้อควรระวัง
• ไม่ควรวางแนวนอน ควรวางแนวตั้งและยึดให้แน่น
• ระวังการเคลื่อนย้าย หกล้มกระแทกท่ออาจระเบิดได้
• เมื่อใช้งาน ท่อควรอยู่ห่างออกจากห้องครัวอย่างน้อย 5 เมตร และไม่ควรอยู่ใกลล้ความร้อนหรือเปลวไฟ
• อย่าเก็บท่อในที่ปิด เช่น ตู้เสื้อผ้า และเก็บให้ห่างจากเปลวไฟหรือแหล่งความร้อนอย่างน้อย 1.5 เมตร
• ปิดหัววาล์วให้สนิทหลังใช้และตรวจสอบการรั่วเป็นประจำ
• ห้ามใช้สเปรย์ฉีด เช่น สเปรย์ปรับอากาศ สเปรย์ฉีดผม หรือละอองฝอยที่มีความไวไฟสูง
• ไม่ควรใช้ครีมหรือโลชั่นเพราะอาจติดไฟได้ (โลชั่นมส่วนผสมของน้ำมัน)
• ไม่ควรใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือในขณะใช้งาน (ปล่อยให้แห้งสนิทก่อนหยิบจับอุปกรณ์)


image
แก๊สอาร์กอน (Argon - Ar) เป็นแก๊สเฉื่อย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และการก่อสร้าง เนื่องจากแก๊สชนิดนี้จะทำให้การเริ่มต้นเชื่อมง่าย เปลวไฟจะเรียบและสม่ำเสมอซึ่งเหมาะกับการเชื่อมโลหะที่ต้องใช้การควบคุมด้วยมือ นอกจากนี้แก๊สอาร์กอนยังให้ปฏิกิริยาทำความสะอาดงานเชื่อมได้ดี จึงเหมาะกับการเชื่อมโลหะที่มีออกไซด์ที่ผิว เช่น อะลูมิเนียมและแมกนีเซียม นอกจากนี้ยังใช้ในงานวิจัยต่างๆ รวมถึงใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้ด้วยนะคะ เช่น การผลิตเบียร์ เพื่อป้องกันการออกซิเดชั่นด้วยค่ะ
• ใช้หัววาล์วมาตรฐาน CGA 580
• ท่อสีน้ำเงิน


image
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide - CO2) เป็นแก๊สไร้สี ไร้กลิ่น ไม่ติดไฟ มีความเป็นกรดอ่อนๆ ใช้ในหลายอุตสาหกรรมเลยค่ะ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร (โซดา น้ำอัดลม ผลิตเบียร์) เชื่อมโลหะ ดับเพลิง ปิโตรเคมี ยา การแพทย์ และผลิตโฟม โดยคาร์บอนไดออกไซด์นี้จะใช้เป็นแก๊สปกคลุม (Shielding) ชิ้นงานโลหะ ป้องกันไม่ให้ชิ้นงานทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในอากาศ

ข้อมูลทั่วไป
• หายใจเข้าไปในปริมาณมากอาจเกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ หรืออาจทำให้ขาดออกซิเจนในระบบหมุนเวียนเลือด ซึ่งนำไปสู่อาการโคม่และเสียชีวิตได้ แต่หากสูดดมในปริมาณที่มี ‘ความเข้มข้นต่ำ’ จะทำให้การให้ใจถี่ขึ้นและปวดหัวได้ค่ะ
• สามารถละลายน้ำได้ และกลายสภาพเป็นกรดคาร์บอนิก
• แก๊สคาร์บอนฯในสถาณะของแข็งคือน้ำแข็งแห้ง แต่ถ้าอยู่ในสถาณะของเหลวจะมีคุณสมบัติในการหล่อเย็น
• ท่อสีดำ
• ใช้กับหัววาล์ว CGA 320


image
แก๊สไนโตรเจน (Nitrogen - N2) เป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ติดไฟ ไม่ใช่แก๊สพิษ แต่อาจระเบิดได้เมื่อภาชนะบรรจุได้รับความร้อนสูง มี 2 สถาณะคือ
1. แก๊สไนโตรเจน (Nitrogen Gas) - ใช้งานได้หลากหลาย เช่น การตรวจสอบการไหล (Flow Testing) ในการขึ้นรูปของพลาสติก หรืออาจเป็นการทดสอบระบบทางเดินท่อต่างๆ ระบบไฮโดรลิค การขึ้นรูปโลหะ นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นแก๊สปกคุลมป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น ทำให้ชิ้นงานไม่เกิดสนิม ในอุตสาหกรรมเหล็ก อะลูมิเนียม โลหะ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี และยานยนต์ ส่วนในอุตสาหกรรมอาหารจะใช้ในบรรจุหีบห่ออาหารและการทำไวน์
2. ไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) - ช่วยลดอุณหภูมิต่างๆให้เย็นลง เช่น อาหารแช่แข็ง การักษาเนื้อสัตว์และผลไม้ หรือแม้แต่การเก็บรักษาเนื้อเยื่อในเชิงชีวภาพทั้งหลาย

ข้อมูลทั่วไป
• หากใช้ไนโตรเจนเหลว ระวังอย่าให้โดนผิวหนัง เพราะในอุณหภูมิที่ต่ำมากอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้
• ท่อสีเทา
• ใช้กับหัววาล์ว CGA 580


image
แก๊สไนตรัส (Nitrous Oxide - N2O) เป็นที่รู้จักกันในนาม ‘แก๊สหัวเราะ’ ไม่มีสี ไม่มีพิษ ไม่ติดไฟ มีรสหอมหวานอ่อนๆ ละลายน้ำได้เล็กน้อย ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และไขมัน มีผลต่อระบบประสาทในระดับควมเข้มข้นต่ำ ทำให้เกิดความเคลิบเคลิ้ม แต่เมื่อได้รับในระดับความเข้มข้นสูงจะทำให้มีอาการชาและหมดสติได้ และในบางกรณียังอาจทำให้เกิดอาการปัญญาอ่อนหรือโรคเอ๋อได้เช่นกัน ส่วนในทางการแพทย์ จะใช้เป็นแก๊สดมสลบก่อนผ่าตัด มีฤทธิ์ช่วงสั้นๆและสามารถช่วยระงับปวดได้ และไม่ตกค้างในระบบร่างกาย แต่จริงๆแล้วแก๊สไนตรัสเค้ามีการนำไปใช้ในการผสมกับเชื้อเพลิงจุดระเบิดจรวดนะคะ หรือใช้กับอาหารเพื่อให้ครีมฟูพองก็ได้ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมผลิตถุงลมนิรภัยสำหรับรถยนต์ด้วยล่ะ


image
แก๊สอะเซทิลีน (Acetylene - C2H2) ที่เรียกสั้นๆกันว่าแก๊สAC เป็นแก๊สที่จุดไฟติด ไม่มีสี เป็นพิษ เป็นแก๊สไวไฟ ประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจนและคาร์บอน(C2 H2) ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนคล้ายกระเทียมและเป็นพิษ มักใช้จุดกับแก๊สออกซิเจนเพื่อให้ได้เปลวไฟที่มีความร้อนสูงจนสามารถใช้เชื่อมหรือตัดโลหะ(Cutting)ได้ งานเซาะร่อง(Gouging) งานเชื่อม(Welding) การเผาให้ความร้อน งานทำความสะอาดเปลวไฟ เคลือบผิวแข็งที่ผิวหน้าโลหะ(Surface Hardening) บางอุตสาหกรรมใช้ในงานพลาสติกอีกด้วย

มักนำไปจุดกับแก๊สออกซิเจนเป็นเปลวไฟที่มีความร้อนสูงกว่าการเผาไหม้ปกติ สามารถเชื่อมและตัดโลหะได้ โดยเปลวไฟจะแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ
ระดับเปลวลด - เปลวคาร์บอนมาก (Caburizing Flame) คือเปลวที่ได้จากการเผาไหม้ของแก๊สออกซิเจนและแก๊สอะเซทิลีนผสมกันโดยแก๊สอะเซทิลีนจะมีปริมาณมากกว่าออกซิเจน มีอุณหภูมิ 2,800 ° C องศา เหมาะกับงานเชื่อมที่ต้องการเติมคาร์บอนที่ผิวโลหะหรือเชื่อมโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เพราะอุณหภูมิหล่อหลอมไม่สูงมากนัก เช่น อะลูมิเนียม แมกนีเซียม หรือการใช้ในการบัดกรีแข็ง
ระดับเปลวกลาง - Neutral Flame คือเปลวที่ได้มาจากการผสมของแก๊สออกซิเจนและอะเซทิลีนในอัตรา 1:1 อุณหภูมิประมาณ 3,150 ° C เมื่อนำไปเผาเหล็กจะสามารถหลอมละลายเป็นบ่อน้ำโลหะคล้ายน้ำเชื่อม เมื่อเย็นลงจะได้แนวเชื่อมที่สะอาดและแข็งแรง เปลวไฟชนิดนี้จึงเหมาะกับการเชื่อมและตัดโลหะ เป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
ระดับเปลวเพิ่ม - หรือเปลวออกซิเจนมาก (Oxidizing Flame) เป็นเปลวไฟที่มีแก๊สออกซิเจนมากกว่าอะเซทิลีน ในระหว่างที่เปลวไฟระดับลดและกลางมี 3 ชั้น แต่เปลวเพิ่มมีลักษณะ 2 ชั้น เป็นรูปกรวยแหลมหดสั้น อุณหภูมิกว่า 3,480 ° C เมื่อทำการเชื่อมจะเกิดประกายไฟกระเด็นออกมา ทำให้เกิดฟองอากาศ ไม่เหามะสำหรับการเชื่อมเหล็กเพราะการเผาไหม้ชนิดนี้จะมีออกซิเจนหลงเหลืออยู่และจะทำให้แนวเชื่อมเหล็กมีรอยเปราะ จึงนิยมใช้ในการตัดโลหะแผ่นบางมากกว่า

อย่างไรก็ตามสถานะภายใต้ความดันอาจทำให้ระเบิดขึ้นได้ ฉะนั้นไม่ควรใช้แก๊สอะเซทิลีนโดยตรงกับทองแดงที่ไม่มีอัลลอยผสมอยู่ เพราะอาจทำให้ระเบิดได้ ฉะนั้นท่ออะเซทิลีนที่มีคุณภาพจะต้องมีหัววาล์วนิรภัยเพื่อป้องการระเบิดของท่อ หัววาล์วนิรภัยถูกทำจากวัสดุที่สามารถหลอมละลายได้ที่อุณภูมิประมาณ 97-105°C เพื่อลดความดันภายในท่อที่อาจก่อให้เกิดระเบิดขึ้นได้
• ท่อสีเลือดหมู
• ใช้กับหัววาล์ว CGA 300 และวาล์วนิรภัย (Fusible Plug)


image
แก๊สหุงต้ม (LPG) ชื่อเป็นทางการคือ แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) ที่ใช้ในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันที่แยกมาจากแก๊สธรรมชาติ แก๊สชนิดนี้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ที่เราคุ้นเคยกันก็จะใช้ในการทำอาหารในครัวเรือน และการใช้ในอุตสาหกรรมเหล็ก เพราะแก๊ส LPG จะให้ความร้อนสูงสุดได้ถึง 3,480° C และมีแรงดันสูงถึง 60 FPS จึงนิยมนำมาตัดเหล็ก ในงานเชื่อมอาจไม่แนะนำเพราะความบริสุทธิ์น้อยอาจส่งผลให้แนวเชื่อมแตกและเปราะง่าย


image

เครื่องผลิตออกซิเจนการแพทย์ (Oxygen Concentrator) เป็นเครื่องผลิตออกซิเจนที่ใช้งานในบ้าน มีความเข้มข้นสูงสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ หรือผู้่่ที่ต้องการได้ออกซิเจนเพิ่ม(ตามคำสั่งแพทย์) การทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจนจะทำงานโดยใช้หลักการ Pressure Swing Adsorption(PSA) โดยจะใช้ Zeolite ในการดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศที่ความดันสูง ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ของซีโอไลท์สามารถดูดซับก๊าซไว้ได้เป็นจำนวนมาก ในความดันที่ต่ำ ไนโตรเจนจะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์ถึง 96% เลยค่ะ

image
อุปกรณ์หายใจ (Oxygen Concentrator) ผู้ป่วยบางท่านที่ต้องรักษาตัวที่บ้านและต้องใช้ใช้ท่อออกซิเจนการแพทย์หรือเครื่องผลิตออกซิเจน จำเป็นต้องใช้คู่กบอุปกรณ์ชนิด Nasal Cannula ที่ส่งออกซิเจนเข้าร่างกาย มีลักษณะเป็นสายพลาสติกเล็กๆเสียบเข้าโพรงจมูก ควรมีระดับลึกในจมูกประมาณ 1 ซม. ทำให้ผู้ป่วยหายใจสบายและสะดวกขึ้น


image
รถเข็นท่อออกซิเจน  ใช้ในการเคลื่อนย้ายหรือตั้งท่อออกซิเจน เป็นรถเข็นเดี่ยว ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย แข็งแรงทนทาน ไม่เป็นสนิม มีด้ามจับที่ได้องศาตามสรีรศาสตร์ ล้อหมุน 2 ล้อ พร้อมด้วยโซ่ล็อค 1 ชั้น


image
เกจวัดแรงดัน (Pressure Regulator) ท่อแก๊สแต่ละชนิดจะใช้เกจที่แตกต่างกัน ใช้ควบคุมแรงดันของท่อต่างๆและควบคุมระดับการไหลของแก๊ส เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรมทั่วไป (และการแพทย์สำหรับเกจออกซิเจนการแพทย์) เป็นระบบปรับแรงดันได้ในขั้นตอนเดียวหรือ Single Stage โดยมิเตอร์วัดการไหลสามารถปรับรายละเอียดเป็นทรงสี่เหลี่ยมทำด้วยโพลีคาร์บอเนต ทนทานไม่แตกง่าย อ่านค่าง่าย รูปแบบอเมริกา ทำจากทองเหลืองขึ้นรูปเพื่อความแข็งแรงสูงสุด และเคลือบด้วยโครเมี่ยมกันสนิม


image
ชุดเชื่อม-ตัดสนาม สามารถใช้ได้กับงานเชื่อมและตัดเหล็กหน้างาน เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมขนาดย่อมจนถึงกลาง เช่น งานซ่อมรถ งันตัด ปะ ผุ งานติดตั้ง-ซ่อมแอร์ งานฝีมือ งานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือช่าง มีลักษณะเป็นรถเข็นสองล้อ สะดวกในการเคลื่อนย้าย สามารถใช้ได้กับแก๊สออกซิเจนอุตสาหกรรม(ลม) แก๊สหุงต้ม(LPG) และแก๊สAC


image
ชุดตัดแก๊ส (Cutting Torch) ชุดตัดเหล็กที่ตัดได้สูงสุดถึง 300 มม. มีแนวตัด 90 องศา ออกแบบด้วยรูปทรงที่สมดุล เหมาะสำหรับงานตัด เผา เซาะ ทั้งานเบาและงานหนัก ปุ่มปรับลมหรือแก๊สทำจากทองเหลืองเทฟล่อนซีลทำให้ปรับได้ละเอียดยิ่งขึ้น ส่วนท่อส่งแก๊สทำจากสแตนเลส เชื่อมด้วยลวดเชื่อมเงิน มีเข็มตรงก้านกด ช่วยในการเ่งไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ ด้ามจับลายริ้วแบบยุโรป ใช้งานง่าย ปรับกระชับมือในขณะใช้งาน


image
ชุดเชื่อมแก๊ส (Welding Torch) งานเชื่อมต้องตัวนี้เลย มีไว้ก็อุ่นใจ ใช้เชื่อมงานโลหะทั่วไปหรือใช้ให้ความร้อนเบื้องต้นกับชิ้นงานเหล็กหรือโลหะที่จะเชื่อม ด้ามจับทองเหลือง ท่อนำส่งแก๊สทำจากสแตนเลสคุณภาพสูง แข็งแรง ชุดมิกเซอร์ผสมลมแก๊สเพื่อให้ความร้อนได้สูงที่สุด ชุดเชื่อมแก๊สนี้ใช้ได้กับลมและแก๊สอะเซทีลีน AC สามารถเชื่อมโลหะได้ตั้งแต่ 0.5 - 3 มม. ไม่ว่าจะงานเชื่อมแก๊ส ประสาน บัดกรี เป่าแก้วหรืออื่นๆก็เอาอยู่


image
นมหนูเชื่อม-ตัด ผลิตจากทองเหลืองทั้งชิ้น เหมาะสำหรับงานเชื่อมทุกประเภท มีให้เลือกหลายขนาดตามการใช้งาน


image
เข็มแยงนมหนู (Nozzle Cleaning Needle) ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีรูหรือร่อง เช่น นมหนูเชื่อมของชุดเชื่อม นมหนูตัดของชุดงานตัด ทำให้การเชื่อมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความยาวได้มาตรฐาน สามารถทำความสะอาดได้ถึงจุดอุดตันที่เกิดจากการเชื่อม-ตัดได้ดี


image
ชุดกันไฟย้อน (Flashback Arrestor) หมดห่วงเรื่องการย้อนกลับของไฟ ตัวนี้จะช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากการเชื่อม-ตัดได้ดี ทำหน้าที่หยุดการไหลย้อนของแก๊สและตัวกรอง รวมถึงดูดซับแก๊สของเปลวไฟให้ได้ดับลง ลดอุณหภูมิประกายไฟให้ต่ำลงจนไฟดับไป อย่าลืมเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชุดตัดแต่ละประเภทด้วยนะคะ


image
หัววาล์วท่อลม-ท่อแก๊ส (Cylinder Valve) การใช้ท่อแก๊สไปเรื่อยๆอาจทำให้หัววาล์วเสื่อมสภาพได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยน ตัวเรือนทำจากทองเหลืองเพิ่มความแข็งแรงทนทาน ลิ้นวาล์วทำจากวัสดุไนลอน ช่วยยืดอายุการใช้งานและต้านทานการสึกหรอได้ พวงมาลัยมือหมุุนสำหรับหัววาล์วรุ่นพวงมาลัยทำจากอลูมิเนียมและเคลือบสี ไม่หลุดลอกง่ายแน่นอน


image
สายลม (Welding Hose) สายลม-แก๊สคู่ยาง (ดำ-แดง) เป็นสายสำหรับลมและแก๊ส เช่น AC หรือ LPG ผลิตจากยางสังเคราะห์ SBR คุณภาพดี ทนการติดไฟ อยู่ในทุกสภาวะอากาศ ทอด้วยใย Filament Synthetic เป็นชั้นเสริม เพิ่มการเสริมแรงและทนต่อการบิดได้ดี สาย 3 ชั้น เหมาะสำหรับงานเชื่อม-ตัดโลหะทุกชนิด นิยมใช้ในงานก่อสร้าง โรงผลิต อู่รถ อู่เรือ และอื่นๆอีกมากมาย มีความแข็งแรงทนทาน ไม่หักงอง่าย อายุการใช้งานยาวนาน


image
สายเชื่อม (Welding Cable) รุ่นยอดนิยมต้องตัวนี้เลย ทำจากทองแดงเบอร์ 0.20 ลักษณะยาง 3 ชั้น ทำจากทองแดงแท้คุณภาพสูง หุ้มด้วยโพลีเยสเตอร์ฟิล์ม และใช้ฉนวนหุ้มที่ผลิตจากยางที่ให้ความยืดหยุ่นสูง และอีกตัวที่ฉนวนหุ้มเป็น PVC แบบ 2 ชั้น แข้งแรงทนทาน อุณหภูมิในการใช้งาน -25°C ถึง +80°C

image
คีมจับลวดเชื่อม (Electrode Holder) ใช้กับลวดเชื่อมก้านธูป ปลอกฉนวนทำด้วยเซรามิคคุณภาพดีช่วยในการทนความร้อนได้มาก ไม่แตกหักง่าย ปลอดภัด้วยสปริงที่แข็งแรง มีด้ามยาวพิเศษ ทองแดงคุณภาพด้านในปากจับลวดเชื่อม ทำให้การไหลของกระแสไฟมีความสม่ำเสมอ


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้