3 เหตุผล ทำไมราคาเหล็กพุ่งแรงขนาดนี้!

3 เหตุผล ทำไมราคาเหล็กพุ่งแรงขนาดนี้!

อยู่ๆเหล็กก็ขึ้น! แพงกว่าเดิมตั้งหลายเท่า…เพราะอะไรกันนะ? เบื้องลึกเบื้องหลังของสถาณการณ์นี้คืออะไรกันแน่? แล้วราคาเหล็กจะพุ่งแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน? วันนี้จะมาอธิบายให้ฟังทีละจุดเลยค่ะ

1. ความต้องการพุ่งทะยาน : สถานการณ์โควิดในไทยอาจจะดูแย่แต่ทั่วโลกกำลังดีขึ้นมาก เช่น สหรัฐและออสเตรเลีย เลยทำให้การผลิตที่ต้องใช้เหล็กอย่าง อุตสาหกรรมรถยนต์และการก่อสร้างต่างๆกลับมาร้อนแรงคึกคักกันอีกครั้งนึง ราคาเฉลี่ยขึ้นเกือบ 3 เท่าในประวัติศาสตร์ 20 เชียวล่ะ!

2. เหล็กขาดตลาด : ความต้องการมากขึ้นแต่กำลังการผลิตไปไม่ถึง ทั้งออสเตรเลียและบราซิลเองก็ไม่สามารถส่งมอบแร่เหล็กให้ได้ตามต้องการอีก สาเหตุมาจาก
- สภาพอากาศ > ฝนตกหนักมากที่บราซิลจึงทำให้การเดินเรือส่งสินค้ามีปัญหา ต่อให้ออสเตรเลียจะพยายามส่งออกแต่ก็ทำได้เพิ่มขึ้นแค่ 20% และยังไม่พอกับความต้องการตลาดอยู่ดี
- ผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกและเป็นลูกค้ารายใหญ่ของออสเตรเลียเค้าทะเลาะกัน > ตั้งแต่ออสเตรเลียเรียกร้องให้นานาชาติตรวจสอบจีนเรื่องต้นกำหนดของไวรัส จีนเค้าก็เลยระงับการเจรจาการค้ากับออสเตรเลียเกือบหมดไปดื้อๆตั้งแต่อาทิตย์ก่อนเลยแหละ
- ทั่วโลกเผชิญปัญหาต้นทุนสูงจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ > เรือขนส่งสินค้าเองก็ไปขวางเส้นทางหลักอย่างคลองสุเอซ (คลองฝีมือมุนษย์ที่อียิปต์เพื่อลดเวลาขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียและยุโรป) ปั่นป่วนไปหมดเลยค่ะ ยิ่งทำให้ของขาดมากขึ้นไปอีก
- ไทยฟื้นตัวช้า > อุตสาหกรรมเหล็กของไทยมีกำลังผลิตแค่ 30-40% ของกำลังผลิตทั้งหมดเท่านั้น จึงยังไม่เต็มประสิทธิภาพมากพอ บวกกับสินค้าออกสู่ตลาดมาน้อย แล้วไหนจะการระบาดระลอกใหม่ยิ่งทำให้กำลังผลิตล้าช้าไปด้วย

3. น้ำมันแพงขึ้น :  น้ำมันที่เป็นต้นทุนการผลิตก็ดันแพงขึ้นอีกในปีนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12% มาตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. และยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้านพลังงานเองก็ดันปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยอีก ภาคพลังงานอย่าง S&P GSCI ปรับขึ้นกว่า 18% นี่ก็ส่งสัญญาณว่าราคาน้ำมันกำลังจะแพงขึ้นอีกด้วยนะ น้ำมันดิบในตลาดสหรัฐอย่าง WTI ปรับขึ้น 26% ส่วน Brent ปรับขึ้น 24% ก็คงไม่แปลกถ้าราคาโภคภัณฑ์อื่นๆขึ้นไปด้วยโดยเฉพาะสินค้าต่างๆที่เกี่ยวกับเหล็ก

เรามาดูด้านหุ้นกันบ้าง : ผู้ผลิตมหาอำนาจอย่างสหรัฐก็ได้ไประโยชน์ไปเต็มๆจากการตั้งกำแพงภาษีในอดีตของโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้หุ้นของ US Steel จากที่เคยแตะจุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์เมื่อเดือน มี.ค. ปีก่อน กลับเพิ่มขึ้นมาถึง 12% เลยทีเดียว และหุ้นของ Nucor ปรับขึ้น 76% เช่นกัน

ส่วนหุ้นในประเทศไทยเรานั้นยังมีการปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเกินเท่าตัวถึง 11 บริษัท เช่น ไทย-เยอรมัน โปรดักส์ขึ้นถึง 400%  ซีเอสพี สตีลเซ็นเตอร์ขึ้น 349% ตามข้อมูลของสำนักข่าว The Standard แต่น่าเห็นใจกับหุ้นกลุ่มบริษัทรับเหมา เช่น ช.การช่าง ที่ตกลงมาจาก 18.80 บาท เป็น 15 บาท แต่โชคดีที่ 11 พ.ค. ปรับขึ้นอีกนิดหน่อยมาเป็น 16 บาท ในระหว่างที่หุ้นของซิโน-ไทย ปรับจากระดับ 16.10 บาท เป็น 13.70 บาท โดยลงมากว่า 2% เมื่อวัน 11 ที่ผ่านมาเช่นกัน


คำถามคือ “ราคาเหล็ก” จะขึ้นไปอีกนานแค่ไหน?
- โรงงานบางส่วนในจีนยังปิดอย่างต่อเนื่องจากเหตุผลสิ่งแวดล้อม แต่กำลังกายผลิตของจีนก็ยังคงค่อยๆฟื้นตัวขึ้นเกือบ 20% เมื่อเทียบกับปีก่อน และขึ้น 13% จากทั้งไตรมาสแรกของปี ส่วนทั้งปีนี้มีการคาดการณ์จาก S&P Global Platts Analytic ว่ากำลังการผลิตเหล็กกล้าของจีนจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 2% โดยสาเหตุหลักคืออุตสาหกรรมปลายน้ำกำลังโดนควบคุมอย่างหนักและไม่มีเครดิตพอจะขอสินเชื่อเพิ่มสำหรับกำลังการผลิต
- ขนส่งโลกเองก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเลยสำนักข่าว The New York Times ระบุว่าการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งอาจจะเลยไปจนถึงปี 2022 ถึงจะค่อยๆดีขึ้น
- ราคาน้ำมันเองก็ต้องดูกันต่อไปจากปัจจัยหลักๆ 2 อย่างคือ ความต้องการซื้อและกำลังการผลิต การที่โควิด-19 ระบาดรุนแรงในทั้งอินเดียและญี่ปุ่นทำให้ส่งผลกระทบต่อความต้องการซื้อ เพราะทั้งสองประเทศเป็นผู้นำรายใหญ่ของโลกในด้านนี้ ส่วนผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกอย่าง OPEC และรัสเซียเองก็กำลังค่อยๆเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับราคาที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
- มีการคาดการณ์ว่า “การขึ้นราคาเหล็ก” นี้ยังเป็นแค่ระยะสั้นซึ่งเป็นผลมาจากความแพนิคของสถาณการณ์ ก่อนจะค่อยๆปรับตัวลง (CNN Business รายงาน) แต่ยังไงก็ต้องมาเกาะสถาณการณ์โลกกันอีกที
- ความต้องการเหล็กมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อแน่นอน เนื่องจากโภคภัณฑ์ที่แพงขึ้นทำให้ข้าวของอื่นๆแพงขึ้นไปด้วย ไหนจะขนส่งที่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นในช่วงนี้จึงทำให้การฟื้นตัวของเศรฐกิจชะลอช้าลงไปด้วย


เรื่องเงินเฟ้ออาจะเป็นการพูดถึงไปอีกสักพักและนักลงทุนอาจจะต้องระวังให้ดีต่อปัจจัยต่างๆที่จะส่งผลกระทบ ผู้ประกอบการรายย่อยหรือร้านค้าต่างๆเองคงจะต้องวางแผนการเงินและการสั่งซื้อของให้ละเอียดมากขึ้นนะคะ สำหรับราคาเหล็กที่ผันผวนอยู่ในช่วงนี้ลูกค้าสามารถเช็คราคาหรือสั่งซื้อกับเราได้ทาง @kuanglee หรือส่งรายการสินค้าที่ต้องการมาทางเว็บไซด์ก็ได้นะคะ


ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน และเรามาผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.moneybuffalo.in.th/business-economy/steel-stock-economy

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้