การออกแบบในพื้นที่ใช้สอยที่คิดถึงปัจจัยธรรมชาติจะช่วยให้บ้านเย็นสบาย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วยนะ ประหยัดค่าไฟได้เป็นกองเลยล่ะ การจะลดพลังงานไฟฟ้านั้น แน่นอนว่ามีผลต่อเนื่องกับการออกแบบแน่นอน ทั้งความสว่างและระบบทำความเย็นภายในบ้าน การใช้งานกับอุปกรณ์ง่ายๆของเจ้าของบ้าน คือ เปิดพัดลมคลายร้อน เปิดเครื่องปรับอากาศ มืดก็เปิดไฟ นี่เป็นธรรมชาติของผู้อยู่อาศัย แต่ผู้อยู่อาศัยอาจจะลืมไปว่า ธรรมชาติที่โลกสร้างขึ้น คือ แสงอาทิตย์ ความร้อน ความสว่าง ลมประจำ ล้วนมีผลให้ผู้ออกแบบและเจ้าของบ้านสามารถขบคิด เพื่อทำให้พื้นที่ใช้สอยมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดการใช้พลังงานไฟฟ้าข้างต้นได้อีกด้วย
การสร้างบรรยากาศ ผ่านสัมผัสทั้ง 5 : สีของวัสดุ และความเป็นธรรมชาติของวัสดุ เช่น สีเอิร์ธโทน หิน ไม้จะสามารถทำให้เกิดความรู้ผ่อนคลาย สบายตา ในขณะเดียวกันการใช้เสียงธรรมชาติจะสามารถสร้างบรรยากาศการรับรู้ถึงสภาวะเย็นสบายได้อีกด้วย คือ เสียงของใบไม้แกว่งเมื่อกระทบลม เสียงนกร้องหลังจากเราปลูกต้นไม้มากพอ เสียงน้ำไหลจากสวนหลังบ้าน เสียงกระดิ่งเมื่อลมพัดมา พร้อมกับกลิ่นหอมๆของดอกไม้ที่เราชอบ และไอเย็นสบาย ของออกซิเจนที่สัมผัสได้ของผู้อยู่อาศัย
ออกแบบตามทิศทางแดด / ลมประจำ : พื้นที่ดินของบ้านแต่ละหลังจะมีรอบสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย
นั่นคือการโคจรของดวงอาทิตย์และลมประจำ การป้องกันความร้อน และการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติมีผลอย่างมาก เช่น ต่ำแหน่งของห้องที่ใช้งานประจำอยู่ทิศเหนือ สามารถเปิดช่องเปิดได้มาก นำแสงธรรมชาติมาใช้ได้โดยไม่ร้อนเพราะไม่ใช่แสงอาทิตย์โดยตรง ทิศตะวันตกควรให้ความสำคัญกับการป้องกันความร้อนที่ผนังด้วยการสร้างเปลือก หรือเกระกันความร้อนหรือวัสดุที่ช่วยลดความร้อน เป็นต้น
การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติด้านการผ่านความร้อนอย่างถูกต้องและเหมาสม : ปัจจัยเรื่องวัสดุมีผลมากที่สุด เพราะเปรียบเสมือนการเลือกผ้า ในการนำมาตัดเสื้อผ้าให้สวยงามและเย็นสบายเมื่อสวมใส่ เช่น โดยธรรมชาติแล้วหากวัสดุอาคารรับความร้อนโดยตรงจากแสงอาทิตย์ จะส่งผ่านความร้อนได้ดีมายังพื้นที่อยู่อาศัยเร็วกว่าปกติ การสะสมความร้อนของวัสดุจะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีความเป็นฉนวนเลย และจะทำให้ยังมีการแผ่รังสีความร้อนในช่วงเวลาที่ใช้พื้นที่นั้นๆ ทั้งๆที่อากาศข้างนอกเย็นแล้วก็ตาม เห็นมั้ยคะว่า สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ส่งผลกับความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยอย่างมากเลยทีเดียวล่ะ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
www.scgbuildingmaterials.com