ตัว "T" บนเหล็กข้ออ้อยนั้นได้แต่ใดมา...

ตัว "T" บนเหล็กข้ออ้อยนั้นได้แต่ใดมา...

จริงๆแล้วตัว “T” ที่ระบุตามผิวข้ออ้อยบ่งบอกถึงการอนุญาตให้มีการผลิตเหล็ก ที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนที่เรียกว่า ‘Heat Treatment Rebar’ หรือ ‘Temp-Cored Rebar’ ตามวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ได้กำหนดไว้ และเตือนไม่ให้ผู้ใช้งานนำเหล็กข้ออ้อยประเภทนี่ไปใช้ผิด แล้วทุกคนสงสัยมั้ยว่า SD40 หรือ SD50 ปกติ ต่างกับตัวที่มี “T” อย่างไร?...

เหล็กข้ออ้อยที่มี T กับไม่มี T นั้น ต่างกันที่กระบวนการผลิตทำให้ตำแหน่งความแข็งแรงต่างกัน จึงส่งผลให้การนำไปใช้ก็ต่างกันด้วยล่ะ
เพราะเหล็กที่มี T จะมีการเชื่อมต่อได้ดี เพราะมีธาตุผสมที่น้อยกว่าเหล็กอ้อยธรรมดา ด้วยว่า….
คุณสมบัติทางกล = กำลังรับแรงดึง ความยืด การดัดโค้ง ไม่ต่างกัน
การต่อเหล็กข้ออ้อย = การต่อทาบ การต่อเชื่อม และการใช้ข้อต่อทางกล ไม่ต่างกันแต่ต้องจัดให้มีการทดสอบกำลังดึงของจุดต่อให้เป็น ไปตามมาตรฐาน ความทนทานต่อไฟ ไม่ต่างกัน

สรุปแล้ว ความต่างของเหล็กทั้งสองประเภท ต่างกันที่ขั้นตอนการผลิต ที่ทำให้เหล็กที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนมีความแข็งที่ผิว
ดังนั้น การนำไปใช้งานในการกลึงจึงควรระมัดระวัง ปัจจุบันนี้หน่วยราชการยอมรับเหล็กข้ออ้อยมี T ในทุกๆหน่วยงานเลยนะ
ยกเว้นกรมทางหลวง เพราะเหล็กที่ใช้ในงานถนนนั้น จะมีเรื่องการล้า (Fatigue) ของเหล็กเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการยืนยันคุณสมบัติในการทนทานจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยซะก่อน แต่ในงานภาคเอกชนนั้น ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจและยอมรับในการใช้งานเหล็กข้ออ้อยที่มี T แล้ว

ส่วนใครสนใจเหล็กข้ออ้อย ไม่ว่าจะเป็น SD40 หรือ SD50 ที่มี ‘T’ หรือไม่… ติดต่อหรือปรึกษาเรา กวงหลี สตีล อินดัสทรี ก่อนได้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
www.builk.com
www.millconsteel.com
http://eitprblog.blogspot.com/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้