เหล็กเสริม Ep.3

เหล็กเสริม Ep.3

เหมือนที่เรารู้กันว่า ‘เหล็กเสริม’ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง โดยใช้เหล็กข้ออ้อยและเหล็กเส้นกลมในการติดตั้งตามแบบที่วิศวกรกำหนดไว้ และตามมาตรฐานวิศวกรรมการก่อสร้างจริงๆแล้ว… จะแนะนำให้เลือกใช้ลวดผูกเหล็กในการผูกเหล็กแต่ละเส้นเข้าด้วยกันเท่านั้น

ส่วนการเชื่อมไฟฟ้าเหล็กเสริม (เชื่อมแต้ม หรือ เชื่อมเต็ม) จะไม่อยู่ในมาตรฐานการก่อสร้าง เนื่องจากความร้อนอาจทำให้เหล็กเสริมนั้นสูญเสียเนื้อเหล็กบางส่วนไปได้ และมีผลต่อความแข็งแรงของเหล็กและโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยรวม แต่มีข้อยกเว้นนะคะ ในกรณีการต่อเหล็กสามารถเลือกใช้วิธีเชื่อมไฟฟ้าแทนการทาบเหล็กได้นะ

เมื่อต่อเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 25 มม. ด้วยวิธีการต่อเชื่อมแบบชน (Butt Weld) ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานของการเชื่อมต่อ และสามารถรับแรงดึงได้อย่างน้อยร้อยละ 125 ของค่ากำลังครากของเหล็กที่ระบุไว้ (รอยต่อต้องมีแรงดึงได้อย่างน้อย 1.25 เท่าของแรงดึงสูงสุดของเหล็กเส้นด้วยนะคะ)

ในปัจจุบันมีข้อต่อเหล็ฏเส้น เรียกว่า ‘Coupler’ ที่ทำให้การต่อเหล็กเสริมง่าย และรวดเร็ว อีกทั้งยังได้ตำแหน่งแนวแกนเส้นเหล็กที่ตรงกันตลอดความยาวของโครงสร้างด้วยค่ะ นอกจากวิธียึดเหล็กแล้ว การเลือกประเภทของเหล็กให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ก็เป็นสิ่งสำคัญในการคำนวณและส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็กเสริมนะคะ โดยสิ่งที่เราต้องตระหนักในการเลือกเหล็กนั้น…
1. เหล็กที่ได้คุณภาพ เมื่อดัดโค้งงอต้องไม่ปริแตก หรือหักง่าย
2. เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก
3. เหล็กเส้นที่ต่อด้วยวิธีการเชื่อม หากทดสอบแล้วไม่เป็นไปตามกำหนด
ถือว่าเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตชุดนั้นใช้ไม่ได้นะคะ

ใครที่กำลังมองหาเหล็กคุณภาพดีสำหรับงานเหล็กเสริม หรืองานส่วนอื่นๆ ปรึกษาเรา...กวงหลี สตีล อินดัสทรี ได้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
www.scgbuildingmaterials.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้