เหล็กข้ออ้อยตัว T หรือไม่มี T ต่างกันอย่างไร? แบบไหนดีกว่ากัน?

เหล็กข้ออ้อยตัว T หรือไม่มี T ต่างกันอย่างไร? แบบไหนดีกว่ากัน?

กระบวนการผลิต
ตัว T นี้บ่งบอกถึงเหล็กข้ออ้อยคุณภาพที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (Heat Treatment Bar หรือ Temp-Core Rebar) ซึ่ง มอก.24-2548 ระบุให้มีเครื่องหมาย “T” ตามหลัง เพื่อบ่งบอกวิธีการผลิตและย้ำเตือนไม่ให้ผู้ใช้งานนำเหล็กข้ออ้อยไปใช้ผิดประเภท เช่น การกลึงหรือทำให้ผิวเหล็กข้ออ้อยหายไป ซึ่งส่งผลเสียโดยตรงกับโครงสร้างเหล็กเสริมได้

คุณสมบัติ
กำลังดึง เช่น การยืดหรือดัดโค้ง ของเหล็กข้ออ้อยทั้ง 2 ประเภท จำเป็นจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. ฉะนั้น เรื่องคุณสมบัติทางกลต่างๆของทั้งสองประเภทจะนั้นดีไม่ต่างกัน

> การดัดงอ
เหล็กข้ออ้อยที่มี T เช่น SD40T หรือ SD50T จะมีโอกาสที่เกิดรอยแตกร้าวที่ผิวง่ายกว่าแบบธรรมดา เพราะเหล็กข้ออ้อยที่มี T จะมีผิวที่แข็งกว่า


การต่อเชื่อม (Welding)
เหล็กข้ออ้อยที่มี T จะมีธาตุผสมน้อยกว่า จึงทำให้เชื่อมง่ายกว่าเหล็กข้ออ้อยทั่วไป แต่ยังคงมีความแข็งอยู่ ก่อนจะทำการเชื่อมควรวอร์มเหล็กให้อุณหภูมิสูงก่อนจึงค่อยเชื่อม ไม่ควรเริ่มเชื่อมตั้งแต่ต้นงาน

> การทนต่อไฟหรือความร้อน
ไม่ต่างกัน ผลการวิจัยของ R.Felicetti ที่ศึกษาการรับแรงดึงของเหล็กข้ออ้อยที่มี T และเหล็กข้ออ้อยทั่วไปในอุณหภูมิต่างๆที่ต่างกัน ผลทดสอบสรุปว่า กำลังรับแรงดึงของเหล็กข้ออ้อยทั้ง 2 ประเภท ไม่มีความแตกต่างกัน เพราะเหล็กชนิดนี้ถูกทำขึ้นให้อยู่ภายใต้เนื้อคอนกรีต ที่ทำหน้าที่ป้องกันเหล็กจากความร้อน


การยอมรับจากหน่วยงานราชการ
ในปัจจุบัน หน่วยงานราชการยอมรับเหล็กข้ออ้อยมี T ยกเว้นกรมทางหลวง เนื่องจากเหล็กที่ใช้ทำถนนนั้นจะมีเรื่องการล้า (Fatigue) ซึ่งไม่มีการยืนยันถึงคุณสมบัติในการทนการล้าของเหล็กข้ออ้อยที่มี T ผู้รับเหมาที่รับทำงานถนนจึงต้องหาเหล็กข้ออ้อยที่ไม่มี T รอคอยการยืนยันจากวิศวกรรมแห่งประเทศไทยต่อไป

ภาคเอกชน
ผู้ออกแบบ และผู้ให้คำปรึกษาส่วนใหญ่เข้าใจและยอมรับการใช้งานของเหล็กข้ออ้อยมี T เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้