สรุป 3 ประเภทเครื่องเชื่อม และการใช้กระแสไฟ

สรุป 3 ประเภทเครื่องเชื่อม และการใช้กระแสไฟ

เครื่องเชื่อม MMA (ตู้เชื่อมไฟฟ้า)
การเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ ซึ่งเกิดจากลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์(Electrode)กับชิ้นงาน เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะเคลื่อนย้ายง่าย
> เหมาะสำหรับ : เชื่อมง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะมาก
> ความสวยงามในการเชื่อม : น้อย
> ข้อดี : เชื่อมได้เร็ว / เคลื่อนย้ายสะดวก / ไม่ใช้แก๊ส / ราคาประหยัด
> ข้อเสีย : ควันเยอะ / ไม่สามารถเชื่อมต่อเนื่องได้ / ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ

เครื่องเชื่อม MIG/MAG (Metal Inert Gas)
หรือเครื่องเชื่อมเครื่องเชื่อมคาร์บอน Co2 เชื่อมโดยการป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่อง
> เหมาะสำหรับ : ต้องใช้ทักษะและความชำนาญปานกลางในการเชื่อม เหมาะกับงานโรงงานอุตสาหกรรม เน้นคุณภาพ
> ความสวยงามในการเชื่อม : ปานกลาง
> แนวเชื่อม : มีความต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมแบบไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อม
> ข้อดี : เชื่อมกับโลหะได้ทุกประเภท เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว / แนวเชื่อมต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมแบบใช้ธูปที่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
> ข้อเสีย : ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ

เครื่องเชื่อม TIG

เครื่องเชื่อมอาร์กอนโดยใช้แท่นอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม บริเวณบ่อหล่อมจะมีแก๊สเฉื่อยปกคลุมเพื่อป้องการหลอมจากการปนเปื้อน
> เหมาะสำหรับ : ใช้ทักษะสูงในการเชื่อม งานคุณภาพที่ต้องใช้ความปราณีตเป็นพิเศษ เช่น งานเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม หรือชิ้นงานบางๆ
> ความสวยงามในการเชื่อม : สวยงามมาก
> ระบบ : มีทั้งระบบเชื่อมอาร์กอนเพียงระบบเดียว และ แบบเชื่อมอาร์กอนกับระบบอื่น (สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง @kuanglee)
> ข้อดี : ควบคุมคุณภาพ แนวเชื่อมสวย / แนวเชื่อมีความแข็งแรง / ควันน้อย / สะอาด ไม่มีประกายไฟ
> ข้อเสีย : เชื่อมช้า ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม / การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน

หากท่านใดสนใจเครื่องเชื่อม ลวดเชื่อม หรือต้องการงานสั่งทำเหล็กสวยๆ สามารถติดต่อสอบถามเราได้ทาง @kuanglee นะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.kovet.com
www.talaytools.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้