เหล็กกัลวาไนซ์ 3 แบบ ต่างกันอย่างไร? แบบไหนดีกว่ากัน

เหล็กกัลวาไนซ์ 3 แบบ ต่างกันอย่างไร? แบบไหนดีกว่ากัน

ก่อนอื่น...เรามาทำความรู้จักกับเหล็กกัลวาไนซ์ให้ถึงพริกถึงขิงกันซะหน่อยนะคะ เหล็กกัลวาไนซ์ มีชื่อเรียกติดปากว่า เหล็ก “เหล็กขาว” ที่คนนิยมนำไปใช้เป็นเหล็กโครงคร่าว ต่อเติม เหล็กรั้ว หรือแม้แต่เหล็กคาน ทำมาจากคอยล์เหล็กหรือเหล็กแผ่นที่ชุบสังกะสี(Zinc) ด้วยอุณหภูมิ 465°C จากนั้นก็ขึ้นรูปเป็นเหล็กรูปพรรณทั่วไปที่เราเห็นกันตามท้องตลาดในรูปแบบของ เหล็กกล่อง เหล็กแบน ท่อกลม มีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนและเกิดสนิม ด้วยมาตรฐานความหนาของชั้นเคลือบที่ 8-15 μm (ไมครอน) หรือ ตามมาตรฐานที่ระบุ เช่น Z08 , Z07, Z12


เหล็กกัลวาไนซ์ หรือ เหล็กพรีซิงค์ Pre-Zinc Galvanized แบ่งออกเป็น 3 พื้นผิว
1. ผิว GI - เคลือบด้วยส่วนผสมหลักคือซิงค์ มีความมันวาวเป็นพิเศษ เหมาะกับงานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ งานโชว์ผิว แต่เมื่อนำไปใช้งานจริงจะต้องเก็บรายละเอียดตรงจุดตัดหรือเชื่อมเป็นพิเศษนะคะ ไม่งั้นสนิมอาจจะเกิดขึ้นได้ง่ายตามจุดเหล่านี้ค่ะ ปัจจุบันทาง มอก. บังคับให้ได้มาตรฐานตาม มอก.50-2561

2. ผิว GA - เคลือบด้วยส่วนผสมหลักคือซิงค์เช่นกัน แต่มีส่วนผสมรองอย่าง Iron Alloy เข้ามาด้วย ช่วยเพิ่มการยึดเกาะของสีได้ดีกว่าผิวGI อย่างเดียว ทำให้เชื่อมได้ง่ายกว่า แต่ผิว GA เค้าจะมีลักษณะเทาด้าน ไม่เงาเหมือน GI นะคะ เนื้อเหล็กยังคงแข็งแรงเช่นเดิม เหมาะกับโครงสร้างที่ไม่ต้องโชว์ผิวมาก ไม่ต้องทาสีรองพื้นเพิ่มเติม ในช่วงจุดตัด จุดเชื่อมต่อเลยค่ะ ปัจจุบันยังไม่มีการควบคุม มอก. นะคะ แต่ในท้องตลาดนิยมใช้กันในงานอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก เพราะนอกจากจะแข็งแรงแล้ว ยังเหนียวและทนทานอีกด้วยค่ะ

3. ผิว MAZ - ยังคงจัดอยู่ในหมวดเหล็กกัลวาไนซ์ค่ะ มีผิวมันวาวเช่นเดียวกับผิว GI และมีส่วนผสมของแมกนีเซียม (Mg), ซิงค์ (Zn), และอลูมิเนียม (AI) ช่วยป้องกันการกัดกร่อนได้เพิ่มมากขึ้น ใช้แทนเหล็กแบบ GI ได้เลย นิยมใช้ในงานต่อเติมทั่วไป งานต่อเติมมบ้าน ระเบียงโครงสร้างต่างๆ หรือโครงหลังคาจอดรถค่ะ

และไม่ว่าจะเป็นเหล็กกัลวาไนซ์ GI, GA, หรือ MAZ จะมีคุณสมบัติกันสนิมอยู่แล้ว แต่การเก็บรักษาก็ควรจะต้องระมัดระวังนะคะ ควรเก็บในที่ร่มและมีผ้าคลุม อย่าให้มีน้ำขังเป็นเวลานาน และระวังอย่าให้ละอองเหล็กที่เกิดจากการตัดเกาะที่ผิวเหล็กนะคะ เพราะอาจจะทำให้เป็นต้นเหตุของการเกิดสนิมได้ ถ้าจะตัด เจาะ เชื่อมเพิ่มเติม อย่าลืมทาสีรองพื้นกันสนิมบริเวณดังกล่าวทุกครั้งด้วยนะคะ

ส่วนท่านใดที่กำลังมองหาเหล็กกัลวาไนซ์ในการใช้งาน สอบถามราคาหรือข้อมูลเพิ่มเติมจากเราได้ทาง @kuanglee นะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.aprimeplus.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้