มอก. ฉบับปรับปรุง…มีอะไรบ้าง?

มอก. ฉบับปรับปรุง…มีอะไรบ้าง?

มอก. ย่อมาจาก “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” ที่กำหนดมาเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตจะต้องผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพ และผู้ใช้จะได้รับสินค้าที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยด้วยค่ะ ซึ่งแบ่งหลักๆ ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. มาตรฐานทั่วไป - ใช้รับรองผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคทั่วไป ผู้ผลิตสามารถยื่นขอด้วยความสมัครใจได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า
2. มาตรฐานบังคับ - ต้องได้รับการรับรองคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ผลิตจะต้องมีการจดทะเบียนการค้าและมีเครื่องหมายรับรองบนสินค้าอย่างชัดเจน เช่น วัสดุก่อสร้าง หรือ ท่อพีวีซี
3.มาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย (สีเหลือง) - จะใช้คุ้มครองแก่ผู้บริโภคด้านความปลอดภัย เช่น เตารีด พัดลมไฟฟ้า เป็นต้น
4.มาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม (สีเขียว) - ใช้รับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การประหยัดน้ำ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เห็นในในผลิตภัณฑ์เช่น เครื่องซักผ้า หรือ ตู้เย็นที่ไม่ใช้สาร CFC เป็นต้นค่ะ
5 .มาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (สีชมพู) - ใช้รับรองว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถทำงานร่วมกันกับผลิตภัณฑ์อื่นๆได้ไหม และไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง เช่น โทรศัพท์ โทรสาร หรือคลื่นวิทยุรับ-ส่ง ค่ะ
6.มาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) - สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม (สมอ.) จะเป็นผู้รับรองให้ โดยเงื่อนไขรับรองจะไม่ยุ่งยากเท่าไหร่ค่ะ เพราะรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ของชุมชนเท่านั้น

มอก. เหล็กเส้นล่าสุด
ส่วน มอก.สำหรับเหล็กเส้นที่มีการปรับปรุงฉบับใหม่ขึ้นนั้น มีการเปลี่ยนจากเหล็กเส้นกลม 'มอก. 20-2543' เป็น 'มอก. 20-2559' และเหล็กข้ออ้อย 'มอก. 24-2548' เปลี่ยเป็น 'มอก. 24-2559'  ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 ธันวาคม 2559

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือ
• มีการควบคุมขั้นตอนการคัดแยกคุณภาพเศษเหล็ก ทั้ง P และ S อย่างเข้มงวดมากขึ้น
• มีการตรวจสอบค่าสารเคมีของน้ำหนักเหล็กทุกขั้นตอนในการผลิตด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
• โรงงานผลิตจะต้องได้มาตรฐานและการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมที่ดี
• มีการทำให้น้ำเหล็กบริสุทธิ์อย่างเหมาะสม (เพื่อลด P และ S และสารฝังใน)
• เตาหลอมเหล็กต้องมีขนาด 5 ตันขึ้นไป
• เนื้อเหล็กต้องแสดงกรรมวิธีการทำเหล็กแท่ง หรือที่มาของสินค้า
          - OH = กรรมวิธีแบบ Open Hearth
          - OB = กรรมวิธีแบบ Basic Oxygen
          - EF = กรรมวิธีจากเตาอาร์คไฟฟ้า EAF
          - IF = กรรมวิธีแบบ Induction Furnace
• จะต้องเป็นเหล็กกล้าที่ไม่มีการเจือปน
• ในเนื้อเหล็กจะต้องเพิ่มชื่อผู้ได้รับอนุญาต ยกเว้นเป็นชื่อเดียวกับผู้ผลิตค่ะ

ส่วนท่านใดที่กำลังมองหา เหล็ก มอก. ที่ได้มาตรฐานและได้คุณภาพ หรือจะเป็นเหล็กชนิดอื่นๆ อย่าลืมทักหาเราทาง @kuanglee นะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก zubsteel
www.thanasarn.co.th
www.ait.nsru.ac.th 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้