ผูกเหล็กอย่างมือโปร… เค้าทำกันอย่างไร?

ผูกเหล็กอย่างมือโปร… เค้าทำกันอย่างไร?

การก่อสร้างและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมจะช่วยหลีกเลี่ยงการยุบตัวของสิ่งก่อสร้างได้ดี และสามารถทนต่อแรงแผ่นดินไหวได้ด้วย ซึ่งเหล็กที่ต้องใช้หลักๆมีอยู่ 2 ประเภท

1. เหล็กเส้นกลม (Round Bar) - ใช้สำหรับรับแรงไม่มาก (เช่น SR24 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2,400 ksc. กก./ตร.ซม.) เพราะเหล็กเส้นกลมเค้ามีผิวเรียบ การยึดเกาะจึงปูนจึงไม่ดีเท่าไหร่ แต่จะเหมาะกับงานทำปลอกเสา งานพื้น งานเสาเอ็นทับหลัง หรืองานอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับน้ำหนักโดยตรง
2. เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) - ตัวนี้แหละ… รับน้ำหนักโดยตรง มีลักษณะกลมบีบั้ง ผิวของเหล็กเป็นปล้องๆอยู่ตลอดทั้งเส้น ช่วยเสริมกำลังยึดเกาะได้ดีเยี่ยม จุดครากจะอยู่ที่ 3,000 ไปจึนถึง 5,000 ksc. แต่การใช้งานจำเป็นต้องดูให้เหมาะสมกับหน้างานนะคะ


มาต่อด้วยวัตถุประสงค์กันค่ะ แบ่งออกได้หลักๆ 4 ประเภท
1. งานโครงสร้าง - เป็นการผูกเหล็กแบบ ‘เหลี่ยมตะกร้อ’ เพื่อเป็นโครงสร้างรับน้ำหนักจากเสาอาคารลงเข็มที่ลงไว้แล้ว ขั้นตอนนี้ต้องได้รับการคำนวณอย่างดีกับเหล็กเสาเข็มและผูกกระจายออกไปรอบๆเสาระยะเท่าๆกันและผูกตั้งขึ้นตามความหนาของฐานรากที่ได้คำนวณไว้แล้วนะ ในขั้นตอนนี้จะมีการนำลูกปูนมารองไว้ระหว่างลีนที่เทไว้กับฐานเหล็กที่ได้ผูกไว้ด้วยนะ ปูนของโครงสร้างจะได้อมเหล็กที่ผูกไว้ทั้งหมดค่ะ

2. งานคานคอดินและคานบน - การผูกเหล็กข้ออ้อยแบบยาวจากผูกเข้ากับเหล็กของเสาและขยายออกไปในทางยาว ระยะห่างของเหล็กปลอกต้องเป็นไปตามการคำนวณของวิศวกรนะคะ ส่วนมากจะอยู่ที่ประมาณ 10-15 ซม. ตามความสูงใหญ่ของอาคารนะคะ

3. งานเหล็กเสา - เป็นการผูกเหล็กข้ออ้อยและแผ่กางด้านฐานออก เพื่อผูกเข้ากันกับฐานรากในกรณีของชั้นล่างและต่อแนวตรงเข้ากับชั้น 2 และชั้นต่อๆไป ส่วนมากเสาของบ้านพักอาศัยก็จะอยู่ที่ประมาณ 20-50 ซม. ใช้เหล็ก DB16 นะคะ

4. งานเหล็กคานทับหลังและเสาเอ็น - ส่วนใหญ่ใช้เส้นกลม หรือ RB9 ค่ะ ความกว้างอยู่ที่ 8x5 ซม. ส่วนระยะห่างใช้ RB6 นะ ระยะอยู่ที่ 10 ซม. แล้วค่อยเทคอนกรีตเพื่อความเหนียวให้กับผนังนะคะ

การทาบเหล็ก - ง่ายๆก็คือการต่อความยาวของเหล็กเส้นกลมหรือข้ออ้อยที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในงานโครงสร้างคอนกรีต เช่น เสา คาน หรือแม่บันใด โดยระยะของการทับซ้อนของเหล็กทั้งสองเส้นต้องมีระยะไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กข้ออ้อย และ50เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นกลม และผูกด้วยลวดผูกเหล็ก


ตัวอย่าง :
ข้ออ้อยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิล ใช้สำหรับเป็นเหล็กยื่นมาต่อกัน ระยะทาบคือ 16 มิล x 40 = 640 มิล (64 ซม.) ระยะมากกว่านี้ได้แต่ห้ามน้อยกว่าเด็ดขาด ส่วนถ้าต้องการทาบเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กที่ไม่เท่ากันก็ต้องให้ยึดตามระยะเหล็กที่มีขนาดเล็กกว่าเสมอนะคะ

*สำหรับเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 25 มิลขึ้นไป จะไม่ค่อยนิยมทาบเหล็กนะ เพราะตำแหน่งเหล็กขนาดที่ใหญ่กว่าจะมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ค่ะ จึงนิยมใช้เหล็กปลอกหรือข้อต่อเหล็กเชื่อมต่อซะมากกว่านะ



ในส่วนของตำแหน่งการทาบ ปกติแล้ววิศวกรเค้าจะคำนวณมาอย่างดีละค่ะ โดยหลีกเลี่ยงจุดที่รับแรงกระแทกมาก เช่น โครงสร้างคานที่เสริมเหล็ก 2 ชุด คือ เหล็กเสริมบนและล่าง เหล็กเสริมบนห้ามทาบเหล็กบริเวณรอยต่อระหว่างคานกับหัวเสานะคะ ส่วนเหล็กเสริมล่างห้ามทาบบริเวณคาน เพราะทั้งสองจุดนี้รับแรงดึงมากที่สุดของโครงสร้างคานค่ะ

เห็นมั้ยคะ? งานที่อาจจะดูไม่มีอะไร…จริงๆสำคัญมากเลยนะ เพราะเกี่ยวข้องกับการแข็งแรงโดยตรงเลยล่ะ เพราะถ้าทำผิดวิธีละก็… ปัญหาใหญ่ตามมาเลยล่ะค่ะ 
ส่วนท่านใดที่สนใจหรือต้องการเหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย หรือลวดผูกเหล็ก สามารถสอบถามขนาดและราคากับเราได้ทาง @kuanglee นะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก K.Sarutkum
www.wee-interior.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้